วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเขียนรายงานโครงงาน

5. การเขียนรายงาน
          การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
  •      ส่วนนำ 
          ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ
          5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ
  •     บทที่ 1 บทนำ 
          บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
          1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
          3. ขอบเขตของโครงงาน
  • บทที่ 2 หลักการและทฤษฎี 
          หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
  • บทที่ 3 วิธีดำเนินการ 
          วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน 

  • บทที่ 4 ผลการศึกษา 
          ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก 

  • บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 
          สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย 

  • ประโยชน์ 
          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย 

  • บรรณานุกรม 
          บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย 

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สร้างเว็บเพจประวัติส่วนตัว

<HTML>
<HEAD>
<TITLE>ประวัติส่วนตัว</TITLE>
</HEAD>
<BODY BGCOLOR=PINK>
<CENTER><H1>ข้อมูลส่วนตัว</H1>
<IMG SRC=ชื่อไฟล์เส้นคั่น.นามสกุล></CENTER>
<IMG SRC=ชื่อไฟล์รูปภาพตัวเอง.นามสกุล>
<H2>
<BR> ชื่อ : __________
<BR> ชื่อเล่น : ______________
<BR> ....................
<BR> ....................
<BR> ....................
</BODY>
</HTML>

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แบบทดสอบเรื่องการแยกสาร
คำชี้แจง  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบเดียว

1. ข้อใดเป็นหลักการแยกสารด้วย   “การกรอง”
     ก. แยกสารเนื้อผสมที่องค์ประกอบของของแข็งที่ไม่ละลายในของเหลว    
     ข. แยกสารเนื้อผสมที่มีอนุภาคของแก๊ส  ปนอยู่ในสารละลาย
     ค. แยกสารเนื้อผสมที่องค์ประกอบของสารที่ละลายน้ำได้
     ง. แยกสารเนื้อผสมที่มีอนุภาคของของเหลวปนอยู่ในสารละลาย

2. ข้อใดเป็นหลักการแยกสารด้วย “การกลั่น”
    ก. แยกสารที่มีจุดเดือดต่างกัน
    ข. แยกสารที่มีสภาพการละลายต่างกัน
    ค. แยกสารที่มีขนาดของอนุภาคแตกต่างกัน
    ง. แยกสารที่มีความสามารถในการละลายและถูกดูดซับบนตัวดูดซับแตกต่างกัน
3. ข้อใดเป็นหลักการแยกสารด้วย “สกัดด้วยตัวทำละลาย”
    ก. แยกสารที่มีจุดเดือดต่างกัน
    ข. แยกสารที่มีสภาพการละลายต่างกัน
    ค. แยกสารที่มีขนาดของอนุภาคแตกต่างกัน
    ง. แยกสารที่มีความสามารถในการ ละลายและถูกดูดซับบนตัวดูดซับแตกต่างกัน

4. ข้อใดเป็นหลักการแยกสารด้วย “โครมาโทกราฟี”
    ก. แยกสารที่มีจุดเดือดต่างกัน
    ข. แยกสารที่มีสภาพการละลายต่างกัน
    ค. แยกสารที่มีขนาดของอนุภาคแตกต่างกัน
    ง. แยกสารที่มีความสามารถในการ ละลายและถูกดูดซับบนตัวดูดซับแตกต่างกัน

5.  การแยกสารเนื้อเดียวด้วยวิธีโครมาโทกราฟีพบว่า บนกระดาษกรองมีสีปรากฏ   3 สี สารนี้คือสารอะไร
    ก. ธาตุ
    ข. สารละลาย
    ค. สารบริสุทธิ์
    ง. สารประกอบ

6.  การสกัดสีเขียวจากใบเตย ควรใช้วิธีใด
    ก.การกลั่นธรรมดา
    ข.   การกลั่นด้วยไอน้ำ
    ค.   การกลั่นลำดับส่วน
    ง. การใช้ตัวทำละลาย

7.   ผลึกเกิดจากสารในข้อใด
    ก. สารละลายอิ่มตัว
    ข. สารละลายเข้มข้น
    ค. สารละลายเจือจาง
    ง. สารเนื้อผสม

8.   ถ้าตั้งถ้วยสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตไว้ในห้องนานถึง 7  วัน ก็ยังไม่ตกผลึก   ข้อใดกล่าวถูกต้อง
    ก.สารละลายนั้นมีฝุ่นละอองปลิวมาผสม
    ข.สารละลายนั้นอิ่มตัว  แต่อุณหภูมิไม่  เย็นจัด
    ค.สารละลายนั้นไม่อิ่มตัว จึงไม่สามารถ  ตกผลึกได้
    ง.สารละลายไม่ตกผลึก เพราะตัวถูก  ละลายเป็นของเหลว

9.  สมชาย สมัคร   และอภิสิทธิ์   แบ่งสารละลายอิ่มตัวของคอปเปอร์ซัลเฟต (จุนสี) ไปทำให้ตกผลึกในกล่องพลาสติกคนละกล่อง ปรากฏว่าผลึกจุนสีที่ได้มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ไม่เหมือนรูปในหนังสือแบบเรียน เขาทั้ง 3 คน ควรสรุปผลการทดลองตามข้อใด
    ก.   ผลึกจุนสีมีรูปร่างได้หลายอย่าง
    ข.   ผลการทดลองแสดงว่าไม่ใช่จุนสี
    ค.   ผลึกจุนสีมีรูปร่างสี่เหลี่ยมขนม    เปียกปูน
    ง.   ผลึกจุนสีมีรูปร่างเหมือนรูปในหนังสือ  แบบเรียน

10. ถ้ามีฝุ่นผงอยู่ในน้ำเชื่อม เราควรแยกฝุ่นผงออกด้วยวิธีใด
   ก. การกรอง
   ข. การกลั่น
   ค.การระเหย
   ง.การตกตะกอน

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

แนวข้อสอบ o-net ม.3

จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด

1. ขอใดตอไปนี้เปนประโยชนของอารเอฟไอดี (RFID )
1. ทนทานตออุณหภูมิสูง
2. ลอกเลียนขอมูลไดงาย
3. สามารถอานทรานสปอนเดอรพรอมกันไดหลายชิ้นและใชเวลารวดเร็ว
4. สามารถใชรวมกันกับบารโคดได
2. ขอใดตอไปนี้ไมใชเปนการนํา GPS ไปใชงานที่ถูกตอง
1. นํา GPS ไปใชในรถยนตเพื่อเปนระบบติดตาม
2. นํา GPS ไปใชกับสมารทโฟนเพื่อบอกตําแหนงของผูใช
3. นํา GPS ไปใชติดตั้งที่เขื่อนเพื่อบอกระดับน้ำในเขื่อน
4. นํา GPS ไปใชกับระบบแผนที่เพื่อนําทาง
3. ขอใดตอไปนี้ไมใชเทคโนโลยีบอรดแบนดไรสาย
1. General Packet Radio Service (GPRS)
2. Bluetooth
3. Enhanced Data Rates Global Evolution (EDGE)
4. 3G Technology
4. ขอใดตอไปนี้ไมไดใชเทคโนโลยีประมวลผลภาพ ( Image Processing )
1. ระบบอานบารโคด
2. ระบบอานคาจาก RFID
3. ระบบตรวจจับใบหนาในกลองดิจิตอล
4. ระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อการรักษาความปลอดภัย
5. ขอใดตอไปนี้กลาวไมถูกตองเกี่ยวกับเทคนิคการแสดงภาพสามมิติ
1. ใชภาพเวกเตอรในการฉายภาพ
2. ใชการฉายภาพสําหรับตาซายและตาขวาที่มีโทนสีแตกตางกันบนฉากรับภาพเดียวกัน
3. ใชการวางตัวชองมองภาพแตละภาพที่ฉายซอนกันบนฉากรับภาพเดียวกัน
4. เปนเทคนิคในการทําใหตาซายและตาขวามองภาพเดียวกันในมุมมองที่แตกตางกัน
6. อุปกรณใดตอไปนี้มีระบบมัลติทัช ( Multi – touch )
1. แท็บเล็ต
2. โทรทัศน
3. จอภาพที่ตู ATM
4. จอขอความที่เครื่องถายเอกสาร
7 . ภาษาโปรแกรมใดตอไปนี้เปนภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object – Oriented Programming Language )
1. C#
2. Logo
3. C
4. Basic
8. หากตองการเขียนโปรแกรมชุดคําสั่งที่พิมพคาเฉพาะที่เปนเลขคู จะมีการดําเนินการคําสั่ง เงื่อนไขอย่างไร  

1. X / 2 = 0
2. X % 2 = 1
3. X / 2 = 1
4. X % 2 = 0

 9. ข้อใดไม่ใช่หน่วยรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์
1. หน้าจอสัมผัส (Touch screen)
2. กล้องเว็บ (Webcam)
3. เมาส์ (Mouse)
4. เครื่องพิมพ์ (Printer)

ข้อความต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 10
นักเรียนซื้อดินสอ 2 แท่งจากร้านค้าในราคาแท่งละ 5 บาท และซื้อไม้บรรทัด 1 อัน ราคา 10 บาท บวกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ราคารวมของสินค้าจึงเป็น 21.40 บาท นักเรียนจ่ายเงินไป 30 บาท และได้รับเงินทอน 8.60 บาท จากบันทึกของร้านค้านั้นทำให้ทราบว่าร้านค้าได้ขายดินสอไปรวม 10 แท่งในวันนั้น

10. จากข้อความข้างต้น ข้อใดเป็นข้อมูลดิบ
1. นักเรียนซื้อของรวม 3 ชิ้น
2. นักเรียนได้เงินทอน 8.60 บาท
3. ร้านค้าขายดินสอไปรวม 10 แท่ง ในวันนั้น
4. ไม้บรรทัดราคา 10 บาทต่ออัน

ข้อความต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 11
นักเรียนซื้อดินสอ 2 แท่งจากร้านค้าในราคาแท่งละ 5 บาท และซื้อไม้บรรทัด 1 อัน ราคา 10 บาท บวกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ราคารวมของสินค้าจึงเป็น 21.40 บาท นักเรียนจ่ายเงินไป 30 บาท และได้รับเงินทอน 8.60 บาท จากบันทึกของร้านค้านั้นทำให้ทราบว่าร้านค้าได้ขายดินสอไปรวม 10 แท่งในวันนั้น

11. จากข้อความข้างต้น ข้อใดเป็นสารสนเทศ
1. ภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7%
2. นักเรียนซื้อดินสอ 2 แท่ง
3. ราคารวมของสินค้าคือ 21.40 บาท
4. นักเรียนจ่ายเงินไป 30 บาท
12. อุปกรณ์ใดใช้ในการต่อคอมพิวเตอร์ตามที่พักอาศัยเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1. เราเตอร์ (Router)
2. โมเด็ม (Modem)
3. การ์ดเครือข่าย (Network Card)
4. แวน (WAN)
13. ข้อใดเป็นการใช้ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ เช่น ไมโครซอฟต์เอ็กเซลอย่างไม่เหมาะสม
1. ใช้บันทึกคะแนนสอบของนักเรียน
2. ใช้สร้างแผนภูมิการกระจายตัวของคะแนนสอบของนักเรียน
3. นำเสนอเกรดของนักเรียนในที่ประชุม
4. ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกคะแนน
14. ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตในข้อใดมีความน่าเชื่อถือที่สุด
1. ข้อมูลในวิกิพีเดียซึ่งมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
2. ข้อมูลจากกระดานสนทนาซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญร่วมตอบข้อซักถาม
3. ข้อมูลจากบล็อกที่มีการเรียบเรียงให้อ่านเข้าใจง่าย
4. ข้อมูลจากการแชทกับเพื่อนที่ค้นคว้าเรื่องเดียวกัน
15. นิชาภาได้จัดทำโครงงานเก็บข้อมูลนักเรียนที่มาสายโดยใช้เครื่องอ่านลายนิ้วมือ โดยพัฒนาโปรแกรม ประยุกต์เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครื่องอ่านลายนิ้วมือ และบันทึกลายนิ้วมือของนักเรียนไว้ในโปรแกรมฐานข้อมูล เมื่อนักเรียนมาถึงโรงเรียนก็ต้องสแกนลายนิ้วมือโดยระบบจะบันทึกเวลาการมาถึงไว้ และระบบจะสามารถทำรายงานสรุปการมาสายของนักเรียนได้ โครงงานนี้นับว่าเป็นโครงงานประเภทใด
1. การรวบรวมข้อมูล เพราะเป็นการเก็บข้อมูลและสรุปจำนวนนักเรียนที่มาสาย
2. การค้นคว้า ทดลอง เพราะเป็นการทดลองใช้เครื่องอ่านลายนิ้วมือ
3. การศึกษาความรู้ ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดใหม่ เพราะมีการนำความรู้ในการพัฒนาโปรแกรม ประยุกต์มาใช้ประโยชน์จริง
4. การประดิษฐ์คิดค้น เพราะมีการสร้างระบบเก็บข้อมูลการมาสายของนักเรียน
16. ข้อใดเป็นวิธีการน าเสนอข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ
1. แผนภูมิแท่ง
2. แผนภูมิวงกลม
3. ตาราง
4. แผนภูมิเส้น
17. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของหน่วยความจำหลัก
1. 7200 RPM
2. DDR3
3. Quad - Core
4. 1920 x 1200